You are currently viewing น้ำใจพี่น้องชาวไทย สู่โรฮิงยาในอาระกัน

น้ำใจพี่น้องชาวไทย สู่โรฮิงยาในอาระกัน

  • Post author:
  • Post last modified:2 กุมภาพันธ์ 2015

Capture

ที่พักชั่วคราวของโรฮิงยาจากเงินบริจาคของชาว ไทยเริ่มสร้างขึ้นอย่างถาวรแล้ว ในค่ายผู้อพยพชานเมืองซิตะเวย์ของรัฐอาระกัน พบชาวโรฮิงยาได้อยู่ในห้องที่กว้างขวางมากขึ้น แม้จะยังไม่สะดวกสบายนัก แต่ดีกว่าบางส่วนที่ยังคงต้องอยู่ในเต็นท์ขนาดเล็กที่ทำจากฟางข้าว ขณะที่ปั๊มน้ำช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำได้ระดับหนึ่ง ด้านค่ายอื่นๆที่ไม่ได้รับการลงทะเบียนยังคลาดแคลนหลายด้าน

 

ทีมงานสถานีโทรทัศน์ไวท์แชนแนลลงพื้นที่เมือง ซิตะเวย์ รัฐอาระกัน เพื่อตรวจสอบความคืบหน้าในการสร้างที่พักถาวรให้กับชาวโรฮิงยาที่อพยพจาก เหตุรุนแรงในรัฐอาระกัน ซึ่งในขณะนี้เงินบริจาคของพี่น้องชาวไทย ผ่านสถานีโทรทัศน์ไวท์ แชนแนล และมอบต่อให้กับองค์กรมาปิมของมาเลเซีย ขณะนี้ได้นำไปก่อสร้างที่พักจำนวน 10 หลัง ปั๊มน้ำ และห้องสุขาให้กับผู้อพยพในค่ายซิตุมานจี ชานเมืองอาระกันแล้ว

ทั้งนี้อาคารพักดังกล่าวจะแบ่งเป็น 10 ห้องย่อยๆ ในแต่ละหลัง โดยแต่ละครอบครัวที่ผ่านการลงทะเบียนแล้ว จะได้พักอยู่ในห้องพักเหล่านี้ ซึ่งเมื่อเข้าไปด้านใน จะมีพื้นที่เล็กๆให้ประกอบอาหาร รวมทั้งมุมหนึ่งของบ้านด้านล่างที่ผู้อพยพเลือกทำเป็นห้องน้ำในบ้าน ขณะที่ด้านในจะเป็นพื้นยกระดับขึ้นไป เพื่อใช้เป็นส่วนในการพักผ่อน และเก็บสัมภาระ

 

สำหรับเครื่องปั๊มน้ำจะช่วยให้ผู้อพยพขาวโรฮิ งยา เข้าถึงน้ำสะอาดได้สะดวกยิ่งขึ้น เนื่องจากพื้นที่ค่ายผู้อพยพนั้น เป็นที่นาเดิมที่ได้รับการอนุเคราะห์จากมุสลิมเจ้าของที่ให้มา อาศัยอยู่ และสภาพอากาศแห้งแล้ง ทำให้แหล่งน้ำจำนวนมากแห้งขอด ขณะที่แหล่งน้ำธรรมชาติอื่นๆ ก็อยู่ไกลจากค่ายเป็นอย่างมาก ซึ่งปั๊มน้ำบาดาลนี้จะถูกนำไปใช้ทั้งเพื่อการอุปโภคและบริโภค

 

ส่วนห้องสุขาที่สร้างขึ้นจำนวน 3 ห้อง ต่อที่พัก 1 หลัง นั้นเป็นห้องเล็กๆ ขนาดกว้างและยาวประมาณ 60 ซม. และมีโถแบบส้วมซึม โดยไม่มีการต่อระบบน้ำเข้ามาด้านใน แต่มีการต่อระบบการกำจัดของเสียไปยังบ่อพักของเสียที่ฝังอยู่ในดินด้านหลัง เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเสียไปปะปนกับระบบน้ำในธรรมชาติ อย่างไรก็ตามชาวโรฮิงยาส่วนใหญ่ยังนิยมใช้ห้องน้ำที่อยู่ในที่พักมากกว่า ทำให้ในค่ายขนาดใหญ่มีน้ำเสียไหลนองในหลายพื้นที่ของค่าย

 

นอจากนี้ยังมีค่ายผู้อพยพอีกหลายแห่งที่มีผู้ อพยพจำนวนมากที่ไม่ได้รับการลงทะเบียนจากรัฐบาล เนื่องจากชาวโรฮิงยาเหล่านี้อพยพมาจากต่างเมือง เพื่อเข้ามาอยู่ใกล้เมืองซิตะเวย์ โดยหวังว่าจะได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างๆได้ง่ายยิ่งขึ้น บรรดาผู้อพยพที่ไม่ได้รับการลงทะเบียนนี้ ไม่สามารถเข้าถึงความช่วยเหลือของรัฐได้ และจะต้องอยู่ในอาศัยในเพิงพักชั่วคราว ที่ทำจากฟางข้าว และผ้าใบคลุม ที่พวกเขาสร้างขึ้นมาเอง

 

ค่ายผู้อพยพชั่วคราวเหล่านี้มีอยู่เป็นจำนวน มากในเขตชานเมืองซิตะเวย์ เนื่องจากผู้อพยพต้องการได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรการกุศลและภาคเอกชน ทั้งใน และจากต่างประเทศ แต่อาหารที่ได้รับการปันส่วนก็ยังไม่เป็นที่เพียงพอ นอกจากนี้การรักษาพยาบาลก็ทำได้เพียงแค่ไปตรวจในคลินิกชุมชนเท่านั้น ไม่สามารถเข้ารับการรักษาตามโรงพยาบาลในเมืองได้

 

ขณะที่การช่วยเหลือจากองค์กรนานาชาติก็ทำได้ แค่เพียงในเขตเมืองซิตะเวย์เท่านั้น ส่วนเมืองอื่นๆที่ยังคงมีความรุนแรงอย่างเมืองหม่องโด เมืองบุทธิดอง ที่มีมุสลิมอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากนั้น ชาวต่างชาติจะไม่ได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้าไป เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากทางรัฐบาลท้องถิ่นก่อน ส่งผลให้ชาวโรฮิงยาในเมืองเหล่านั้น เลือกที่จะทิ้งบ้านเรือน ออกมาอาศัยอยู่ใกล้กับเมืองซิตะเวย์

 

นอกจากนี้ทางองค์กรมาปิมของมาเลเซีย ยังนำเงินบริจาคจากพี่น้องชาวไทย ผ่านสถานีโทรทัศน์ไวท์ แชนแนล และมูลนิธิมุสลิมเพื่อสันติไปซื้อข้าวสารเพื่อนำไปบริจาคให้กับชาว โรฮิงยาในค่ายผู้อพยพ และมัสยิดรวมทั้งสิ้น 6 แห่ง เป็นจำนวนข้าว 724 ถุง รวม 36 ตัน ซึ่งจะเพียงพอต่อผู้อพยพประมาณ 20,000 คน ใน 1 เดือน เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการคลาดแคลนอาหาร ที่เกิดขึ้นในหลายค่ายผู้อพยพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่ายที่ไม่ได้รับการลงทะเบียนจากรัฐ

 

ทั้งนี้เงินบริจาคของชาวไทย ทางองค์กรของมาเลเซีย ยังมีแผนจะนำไปใช้ในโครงการสร้างที่ พักอีก 4 ระยะต่อไป โดยจะจัดทำเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ สำหรับ 500 ครอบครัว โดยจะมี่ที่พักทั้งสิ้น 50 หลัง มัสยิด โรงเรียนสอนศาสนา ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการเจรจากับรัฐบาลท้องถิ่นในรัฐอาระกัน เพื่อจัดหาพื้นที่ในการก่อสร้างต่อไป

 

สำนักข่าวไวท์ รายงาน