185 ถนนรามคำแหง แขวงราษฎร์พัฒนา เขตสะพานสูง กทม, Thailand 10240 [email protected]
เช้าวันที่ 22 ตุลาคม 2558 เวลาประมาณ 9:00 น. ย่านกลางเมืองสุไงปัตตานี ประเทศมาเลเซีย นายรอไซดี้เจ้าหน้าที่ MAPIM มารับทีมข่าวและทนายฮานีฟ หยงสตาร์ เลขาธิการมูลนิธิมุสลิมเพื่อสันติ เดินทางไปเยี่ยมชมโรงเรียนไบตุลเราะห์มะฮ์ โรฮิงญาฯ ที่องค์กร MAPIM ร่วมกับ องค์กร “ซาลีมะฮ์” จัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตโรฮิงญาที่อาศัยอยู่ในชุมชนแห่งนี้ให้ดีขึ้น ด้วยการให้ความรู้ ให้การศึกษา
จากนั้นทีมงานเดินทางต่อจากสุไหงปัตตานีไปยังกัวลาลัมเปอร์ เมืองหลวงประเทศมาเลเซีย ใช้เวลาเดินทางกว่า 5 ชั่วโมง พบนายนูรสลาม และนายมูฮัมหมัด ชาวโรฮิงญา พาทีมงานเยี่ยมโรฮิงญา ราว 1 พันกว่าคนที่อาศัยอยู่ในชุมชน กัมปง “อัมปัง” สำรวจความเป็นอยู่ การงาน สิทธิ การศึกษา และการเดินทางเข้ามาประเทศมาเลเซีย เป็นต้น
นายนูรสลาม อยู่กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซียกว่า 23 ปีปัจจุบันประกอบอาชีพเปิดร้านขายอาหาร เล่าให้ทีมข่าวฟังว่า ยังมีโรฮิงญาอีกกว่า 40,000 – 50,000 คนที่อาศัยในกัวลาลัมเปอร์ไม่มีบัตร UNHCR (ของแท้) เนื่องจากออฟฟิตของ UN ปิดให้บริการไปกว่า 2 ปี พวกเขาจึงต้องซื้อบัตรปลอมในราคา 60RMเพื่อตบตาเจ้าหน้าที่ตำรวจ ถึงกระนั้นก็ตาม งานทั่วไปในกัวลาลัมเปอร์หายากมาก มีเพียงงานเล็กๆน้อยๆ เช่น ดายหญ้า ลอกท่อระบายน้ำ ทำความสะอาดบ้าน และกวาดถนน รายได้ต่อเดือนประมาณ 700-900RM เมื่อเทียบกับราคาห้องเช่า อยู่ที่ห้องละ 250-600RM พวกเขาแทบเหลือเงินไม่พอซื้ออาหารกินในแต่ละเดือน ดังนั้นโรฮิงญาหลายครอบครัวที่อาศัยในกัวลาลัมเปอร์จึงใช้วิธีนำญาติพี่น้องตนมาอยู่รวมกัน 7-8 คนภายในห้องเช่าขนาด 5 x 6 เมตร เพื่อช่วยเฉลี่ยค่าเช่า
ถึงคราวเจ็บป่วยโรงพยาบาลก็ไม่อาจจะไปได้ด้วยค่ารักษาพยาบาลแพงเกินกว่าจะจ่ายไหว ดีหน่อยค่าคลอดบุตรขั้นต่ำจ่ายแค่ 2,200RM พอจะเก็บเงินได้อยู่ “หญิงชาวโรฮิงญากล่าว”
โรฮิงญาที่อาศัยในประเทศมาเลเซียเมื่อไปคลอดบุตรที่โรงพยาบาล รัฐบาลมาเลเซียจะไม่มอบสิทธิพลเมืองหรือแม้แต่จะออกบัตร UNHCR ให้ฉะนั้นเมือเด็กเหล่านี้เกิดมาก็ยังคงต้องหลบซ่อนตัวจากเจ้าหน้าทีต่อไป การศึกษา อาชีพ สิทธิรักษาพยาบาลยังคงเป็นปัญหาที่พวกเขาเฝ้ารอความช่วยเหลือ การแก้ไขและโอกาสที่รัฐบาลจะมอบให้
ช่วงค่ำทนายฮานีฟ หยงสตาร์เลขาธิการมูลนิธิมุสลิมเพื่อสันติ และนายศราวุธ มาลัยทัต หัวหน้าฝ่ายข่าวไวท์ชาแนล WhiteChannel ร่วมพูดคุยกับ Mohd Azmi Bin Abdul Hamid(เจ๊ะกู อัสมี่ ประธาน MAPIM องค์กรสิทธิมนุษยชนประเทศมาเลเซีย) ถึงแนวทางการทำงานช่วยเหลือโรฮิงญาของ MAPIM ในประเทศมาเลเซียและการผลักดันขับเคลื่อนงานในต่างประเทศให้เมียนมารับชาวโรฮิงญาเป็นพลเมืองของตน
#ขุนคมคำ
เลขาธิการมูลนิธิมุสลิมเพื่อสันติเยือน MAPIM มาเลเซีย พูดคุยแนวทางช่วยเหลือชาวโรฮิงญาร่วมกัน
เช้าวันที่ 22 ตุลาคม 2558 เวลาประมาณ 9:00 น. ย่านกลางเมืองสุไงปัตตานี ประเทศมาเลเซีย นายรอไซดี้เจ้าหน้าที่ MAPIM มารับทีมข่าวและทนายฮานีฟ หยงสตาร์ เลขาธิการมูลนิธิมุสลิมเพื่อสันติ เดินทางไปเยี่ยมชมโรงเรียนไบตุลเราะห์มะฮ์ โรฮิงญาฯ ที่องค์กร MAPIM ร่วมกับ องค์กร “ซาลีมะฮ์” จัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตโรฮิงญาที่อาศัยอยู่ในชุมชนแห่งนี้ให้ดีขึ้น ด้วยการให้ความรู้ ให้การศึกษา
จากนั้นทีมงานเดินทางต่อจากสุไหงปัตตานีไปยังกัวลาลัมเปอร์ เมืองหลวงประเทศมาเลเซีย ใช้เวลาเดินทางกว่า 5 ชั่วโมง พบนายนูรสลาม และนายมูฮัมหมัด ชาวโรฮิงญา พาทีมงานเยี่ยมโรฮิงญา ราว 1 พันกว่าคนที่อาศัยอยู่ในชุมชน กัมปง “อัมปัง” สำรวจความเป็นอยู่ การงาน สิทธิ การศึกษา และการเดินทางเข้ามาประเทศมาเลเซีย เป็นต้น
นายนูรสลาม อยู่กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซียกว่า 23 ปีปัจจุบันประกอบอาชีพเปิดร้านขายอาหาร เล่าให้ทีมข่าวฟังว่า ยังมีโรฮิงญาอีกกว่า 40,000 – 50,000 คนที่อาศัยในกัวลาลัมเปอร์ไม่มีบัตร UNHCR (ของแท้) เนื่องจากออฟฟิตของ UN ปิดให้บริการไปกว่า 2 ปี พวกเขาจึงต้องซื้อบัตรปลอมในราคา 60RMเพื่อตบตาเจ้าหน้าที่ตำรวจ ถึงกระนั้นก็ตาม งานทั่วไปในกัวลาลัมเปอร์หายากมาก มีเพียงงานเล็กๆน้อยๆ เช่น ดายหญ้า ลอกท่อระบายน้ำ ทำความสะอาดบ้าน และกวาดถนน รายได้ต่อเดือนประมาณ 700-900RM เมื่อเทียบกับราคาห้องเช่า อยู่ที่ห้องละ 250-600RM พวกเขาแทบเหลือเงินไม่พอซื้ออาหารกินในแต่ละเดือน ดังนั้นโรฮิงญาหลายครอบครัวที่อาศัยในกัวลาลัมเปอร์จึงใช้วิธีนำญาติพี่น้องตนมาอยู่รวมกัน 7-8 คนภายในห้องเช่าขนาด 5 x 6 เมตร เพื่อช่วยเฉลี่ยค่าเช่า
ถึงคราวเจ็บป่วยโรงพยาบาลก็ไม่อาจจะไปได้ด้วยค่ารักษาพยาบาลแพงเกินกว่าจะจ่ายไหว ดีหน่อยค่าคลอดบุตรขั้นต่ำจ่ายแค่ 2,200RM พอจะเก็บเงินได้อยู่ “หญิงชาวโรฮิงญากล่าว”
โรฮิงญาที่อาศัยในประเทศมาเลเซียเมื่อไปคลอดบุตรที่โรงพยาบาล รัฐบาลมาเลเซียจะไม่มอบสิทธิพลเมืองหรือแม้แต่จะออกบัตร UNHCR ให้ฉะนั้นเมือเด็กเหล่านี้เกิดมาก็ยังคงต้องหลบซ่อนตัวจากเจ้าหน้าทีต่อไป การศึกษา อาชีพ สิทธิรักษาพยาบาลยังคงเป็นปัญหาที่พวกเขาเฝ้ารอความช่วยเหลือ การแก้ไขและโอกาสที่รัฐบาลจะมอบให้
ช่วงค่ำทนายฮานีฟ หยงสตาร์เลขาธิการมูลนิธิมุสลิมเพื่อสันติ และนายศราวุธ มาลัยทัต หัวหน้าฝ่ายข่าวไวท์ชาแนล WhiteChannel ร่วมพูดคุยกับ Mohd Azmi Bin Abdul Hamid(เจ๊ะกู อัสมี่ ประธาน MAPIM องค์กรสิทธิมนุษยชนประเทศมาเลเซีย) ถึงแนวทางการทำงานช่วยเหลือโรฮิงญาของ MAPIM ในประเทศมาเลเซียและการผลักดันขับเคลื่อนงานในต่างประเทศให้เมียนมารับชาวโรฮิงญาเป็นพลเมืองของตน
#ขุนคมคำ
หมวดหมู่
คลังเก็บ
นิยาม
Categories
Recent Posts
4 ประเด็น จากปัญหาบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปปนเปื้อนส่วนประกอบยาฆ่าแมลง
12 ตุลาคม 2022มมส.ช่วยเหลือผู้ประสบอัคคีภัย ณ ชุมชนมัสยิดสวนพลู
16 ธันวาคม 2021ประมวลภาพลงพื้นที่ น้ำท่วม จ.สุราษฎร์ธานี
6 ธันวาคม 2020Calendar