185 ถนนรามคำแหง แขวงราษฎร์พัฒนา เขตสะพานสูง กทม, Thailand 10240 [email protected]
มูลนิธิมุสลิมเพื่อสันติ เดินทางมารับฟังปัญหาจากที่มีประชาชนในพื้นที่ อ.เทพา จ.สงขลา เคยได้ร้องเรียนเรื่อง มีการละเมิดสิทธิของชาวบ้าน และเตรียมแต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีโครงการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในอนาคต เมื่อวันนี้ 6 พฤษภาคม 2559 (เวลา 10.30 น.) ที่ผ่านมา ณ หมู่ 4 บ้านปากบางเทพา อ.เทพา จ.สงขลา มูลนิธิมุสลิมเพื่อสันติ เดินทางมารับฟังปัญหา และตรวจสอบกรณีโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ตามที่เครือข่ายคนสงขลาปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน ร้องเรียนให้รับเรื่องราวร้องทุกข์ของเครือข่ายฯ บันทึกเสนอในข้อร้องเรียนของมูลนิธิฯ และแต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อลงพื้นที่ฟังเสียงที่แท้จริงของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการผลักดันโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพื่อปกป้องสิทธิชุมชน ปกป้องสิทธิมนุษยชน ให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย โดยมีชาวบ้านในพื้นที่ร่วมให้ข้อมูล กว่า 50 คน ทั้งนี้ในฐานะที่มูลนิธิมีกรอบในการทำงานอย่างชัดเจน จึงไม่ก้าวก่ายเหตุผลอื่นจากที่ ประชาชนได้เคยร้องเรียนเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2559 ที่ผ่านมา นาย ก. หนึ่งในแกนนำหลัก กลุ่มไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ทางชุมชนได้ยื่นหนังสือให้ประธานมูลนิธิมุสลิมเพื่อสันติ ขอให้ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน และสิทธิชุมชนจากโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ตัวแทนชุมชนได้ร่วมให้ข้อมูลโดยสรุป ดังนี้ โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ต้องมีการย้ายประชาชนกว่า 240 ครัวเรือน ประมาณ 1,000 คนและยังมี่อีกหลายหมู่บ้าน ร่วมประชาชนกว่า 10,000 กว่าคน ออกจากพื้นที่ก่อสร้าง โดยที่ประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ซึ่งเป็นมุสลิม ไม่ได้มีข้อมูลอย่างเพียงพอเพื่อประกอบการตัดสินใจ ทั้งหมดไม่ได้อยากย้าย จึงได้ปรึกษาทางมูลนิธิในการเร่งตรวจสอข้อเท็จจริงต่อไป แต่ทางประชาชนที่ร้องเรียน และมาร่วมรับฟัง ให้ข้อมูลยังยืนยันว่า ไม่ว่ากรณีใด ก็ไม่ออกจากพื้นที่ และจะสู้ให้ถึงที่สุด นอกจากการบังคับย้ายครัวเรือนแล้ว ยังมีมัสยิด 2 แห่ง กุโบร์ (สุสาน) 2 แห่ง วัด 1 แห่ง และโรงเรียนปอเนาะอีก 1 แห่ง อยู่ในใจกลางพื้นที่ก่อสร้าง ด้วยกระแสการคัดค้านที่รุนแรงของประชาชนจังหวัดชายแดนใต้ ทาง กฟผ.ได้มีหนังสือยืนยันที่จะไม่ย้ายมัสยิด และสุสาน แต่จะอนุรักษ์ไว้ อย่างไรก็ตาม โครงการต้องถมดินสูง 5-8 เมตร ชุมชนต้องย้ายออกหมด การอนุรักษ์ไว้จึงเหลือเพียงซากอาคารที่ขาดจิตวิญญาณของความศรัทธา ซึ่งกระทบต่อหลักศรัทธาของประชาชนในพื้นที่อย่างยิ่ง ทั้งในกระบวนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ก็ไม่ได้มีการศึกษาให้ครอบคลุมพื้นที่ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ทั้งที่มลพิษนั้นสามารถแพร่กระจายไปถึงทั่วภาคใต้ อาจจะเข้าสู่ชั้นบรรยากาศประเทศมาเลเซียบางรัฐด้วยเช่นกัน ทางมูลนิธิมุสลิมเพื่อสันติ ต้องรอตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวให้รอบคอบต่อไป โดยเฉพาะการช่วยเหลือความเป็นธรรมแก่ชาวบ้าน หากมีการละเมิดสิทธิฯ จริงตามที่ประชาชนให้ข้อมูลแก่ทีมงานมูลนิธิฯ ทั้งนี้จะมีการแถล่งและสรุปต่อไป นับเป็นวันที่ดีมากวันหนึ่ง เมื่อมูลนิธิฯ ได้เดินทางมารับฟังปัญหา และร่วมตรวจสอบตามที่ชุมชนได้ส่งหนังสือร้องเรียน โดยชุมชนพร้อมที่จะให้ข้อมูลเพิ่มหากทางมูลนิธิฯ ต้องการก็หวังว่าชุมชนจะได้รับความเป็นธรรมเช่นกัน
#หนุ่มภาคใต้ #ขุนคมคำ
ลงพื้นที่ฟังเสียงประชาชนร้องเรียนปัญหา กรณีโรงไฟฟ้าถ่านหิน อ.เทพา จ.สงขลา
มูลนิธิมุสลิมเพื่อสันติ เดินทางมารับฟังปัญหาจากที่มีประชาชนในพื้นที่ อ.เทพา จ.สงขลา เคยได้ร้องเรียนเรื่อง มีการละเมิดสิทธิของชาวบ้าน และเตรียมแต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีโครงการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในอนาคต
เมื่อวันนี้ 6 พฤษภาคม 2559 (เวลา 10.30 น.) ที่ผ่านมา ณ หมู่ 4 บ้านปากบางเทพา อ.เทพา จ.สงขลา มูลนิธิมุสลิมเพื่อสันติ เดินทางมารับฟังปัญหา และตรวจสอบกรณีโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ตามที่เครือข่ายคนสงขลาปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน ร้องเรียนให้รับเรื่องราวร้องทุกข์ของเครือข่ายฯ บันทึกเสนอในข้อร้องเรียนของมูลนิธิฯ และแต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อลงพื้นที่ฟังเสียงที่แท้จริงของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการผลักดันโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพื่อปกป้องสิทธิชุมชน ปกป้องสิทธิมนุษยชน ให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย โดยมีชาวบ้านในพื้นที่ร่วมให้ข้อมูล กว่า 50 คน ทั้งนี้ในฐานะที่มูลนิธิมีกรอบในการทำงานอย่างชัดเจน จึงไม่ก้าวก่ายเหตุผลอื่นจากที่ ประชาชนได้เคยร้องเรียนเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2559 ที่ผ่านมา
นาย ก. หนึ่งในแกนนำหลัก กลุ่มไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ทางชุมชนได้ยื่นหนังสือให้ประธานมูลนิธิมุสลิมเพื่อสันติ ขอให้ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน และสิทธิชุมชนจากโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ตัวแทนชุมชนได้ร่วมให้ข้อมูลโดยสรุป ดังนี้ โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ต้องมีการย้ายประชาชนกว่า 240 ครัวเรือน ประมาณ 1,000 คนและยังมี่อีกหลายหมู่บ้าน ร่วมประชาชนกว่า 10,000 กว่าคน ออกจากพื้นที่ก่อสร้าง โดยที่ประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ซึ่งเป็นมุสลิม ไม่ได้มีข้อมูลอย่างเพียงพอเพื่อประกอบการตัดสินใจ ทั้งหมดไม่ได้อยากย้าย จึงได้ปรึกษาทางมูลนิธิในการเร่งตรวจสอข้อเท็จจริงต่อไป แต่ทางประชาชนที่ร้องเรียน และมาร่วมรับฟัง ให้ข้อมูลยังยืนยันว่า ไม่ว่ากรณีใด ก็ไม่ออกจากพื้นที่ และจะสู้ให้ถึงที่สุด
นอกจากการบังคับย้ายครัวเรือนแล้ว ยังมีมัสยิด 2 แห่ง กุโบร์ (สุสาน) 2 แห่ง วัด 1 แห่ง และโรงเรียนปอเนาะอีก 1 แห่ง อยู่ในใจกลางพื้นที่ก่อสร้าง ด้วยกระแสการคัดค้านที่รุนแรงของประชาชนจังหวัดชายแดนใต้ ทาง กฟผ.ได้มีหนังสือยืนยันที่จะไม่ย้ายมัสยิด และสุสาน แต่จะอนุรักษ์ไว้ อย่างไรก็ตาม โครงการต้องถมดินสูง 5-8 เมตร ชุมชนต้องย้ายออกหมด การอนุรักษ์ไว้จึงเหลือเพียงซากอาคารที่ขาดจิตวิญญาณของความศรัทธา ซึ่งกระทบต่อหลักศรัทธาของประชาชนในพื้นที่อย่างยิ่ง
ทั้งในกระบวนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ก็ไม่ได้มีการศึกษาให้ครอบคลุมพื้นที่ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ทั้งที่มลพิษนั้นสามารถแพร่กระจายไปถึงทั่วภาคใต้ อาจจะเข้าสู่ชั้นบรรยากาศประเทศมาเลเซียบางรัฐด้วยเช่นกัน ทางมูลนิธิมุสลิมเพื่อสันติ ต้องรอตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวให้รอบคอบต่อไป โดยเฉพาะการช่วยเหลือความเป็นธรรมแก่ชาวบ้าน หากมีการละเมิดสิทธิฯ จริงตามที่ประชาชนให้ข้อมูลแก่ทีมงานมูลนิธิฯ ทั้งนี้จะมีการแถล่งและสรุปต่อไป
นับเป็นวันที่ดีมากวันหนึ่ง เมื่อมูลนิธิฯ ได้เดินทางมารับฟังปัญหา และร่วมตรวจสอบตามที่ชุมชนได้ส่งหนังสือร้องเรียน โดยชุมชนพร้อมที่จะให้ข้อมูลเพิ่มหากทางมูลนิธิฯ ต้องการก็หวังว่าชุมชนจะได้รับความเป็นธรรมเช่นกัน
#หนุ่มภาคใต้
#ขุนคมคำ
หมวดหมู่
คลังเก็บ
นิยาม
Categories
Recent Posts
4 ประเด็น จากปัญหาบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปปนเปื้อนส่วนประกอบยาฆ่าแมลง
12 ตุลาคม 2022มมส.ช่วยเหลือผู้ประสบอัคคีภัย ณ ชุมชนมัสยิดสวนพลู
16 ธันวาคม 2021ประมวลภาพลงพื้นที่ น้ำท่วม จ.สุราษฎร์ธานี
6 ธันวาคม 2020Calendar