185 ถนนรามคำแหง แขวงราษฎร์พัฒนา เขตสะพานสูง กทม, Thailand 10240 [email protected]

    You are currently here!
  • Home
  • ระเบียบข้อบังคับ

ระเบียบข้อบังคับ

ระเบียบข้อบังคับ มูลนิธิมุสลิมเพื่อสันติ ฉบับปรับปรุง ฮ.ศ.1430

 

หมวดที่ 1 : ทั่วไป

 

ข้อ 1. ระเบียบนี้ให้เรียกว่า “ระเบียบข้อบังคับกลุ่มมุสลิมเพื่อสันติ ฉบับปรับปรุงครั้งที่หนึ่ง ฮ.ศ.1430

ข้อ 2. ให้ ยกเลิกระเบียบข้อบังคับกลุ่มมุสลิมเพื่อสันติ ฮ.ศ.1422 (ฉบับเดิม)
ข้อ 3. กลุ่มนี้ชื่อว่า “กลุ่มมุสลิมเพื่อสันติ”

คำย่อว่า  กมส.
เรียกเป็นภาษาอาหรับว่า
เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Muslim Group for Peace
คำย่อว่า  MGP.

 

ข้อ 4. “เครื่องหมายของกลุ่มเป็นรูป ก้านพร้อมใบไซตูน 3 ใบ อยู่ในจันทร์เสี้ยว มีชื่อกลุ่มเป็น 3 ภาษา ได้แก่ อาหรับ-ไทย-อังกฤษ ล้อม รอบจันทร์เสี้ยว”
รูปของเครื่องหมายกลุ่ม

ข้อ 5. วัตถุประสงค์ของกลุ่ม เพื่อ
5.1 เพื่อปกป้องเรียกร้อง สิทธิของพี่น้องมุสลิม และต่อต้านผู้อธรรมต่ออิสลาม
5.2 เพื่อสร้างความเข้มแข็ง ด้านหลักการศาสนา และความสมานฉันท์ในสังคมมุสลิม
5.3 เพื่อเสนอข้อมูลข่าวสารที่เป็นจริงต่อสังคม

 

หมวดที่ 2 สมาชิก

ข้อ 6. สมาชิกของกลุ่มมี 2 ประเภท คือ
6.1 สมาชิกสามัญได้แก่
1. บุคคลทั่วไปที่มี แนวคิดปฏิบัติสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกลุ่ม
2. สมาชิก มูลนิธิ และองค์กรเอกชนที่สนใจ
6.2 สมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่ บุคคลผู้ทรงคุณวุฒิ หรือ ผู้มีอุปการคุณ ต่อกลุ่ม ซึ่ง คณะกรรมการลงมติให้เชิญเข้าเป็นสมาชิกของกลุ่ม

ข้อ 7. สมาชิก จะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
7.1 เป็นมุสลิม หรือมุสลิมะห์ที่ยึดมั่นและปฏิบัติตนในแนวทางท่านนบีมูฮัมหมัดศ็อลลั้ลลอฮุอ ลัยฮิวะซัลลัม
7.2 เป็นผู้บรรลุศาสนภาวะ

ข้อ 8. สมาชิก ภาพของสมาชิกกิตติมศักดิ์
สมาชิกภาพของสมาชิก กิตติมศักดิ์ให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่ หนังสือตอบรับเชิญของผู้ที่คณะกรรมการได้พิจารณาลงมติให้เชิญเข้า เป็นสมาชิก ของกลุ่ม ได้มาถึงยังกลุ่ม

ข้อ 9. สมาชิก ภาพของสมาชิกให้สิ้นสุดลงด้วยเหตุดังต่อไปนี้
9.1 ตาย
9.2 ลาออก โดยยื่นหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรต่อคณะกรรมการ และกรรมการได้พิจารณาอนุมัติ
9.3 ขาดคุณสมบัติสมาชิก
9.4 ที่ประชุมใหญ่ของกลุ่ม หรือคณะกรรมการได้พิจารณาลงมติให้ลบ ชื่อออกจากทะเบียนเพราะสมาชิกผู้นั้นได้ ประพฤตินำความเสื่อมเสียมาสู่สังคม

ข้อ 10. สิทธิ และหน้าที่ของสมาชิก
10.1 มีสิทธิเข้าใช้สถานที่ ของกลุ่มโดยเท่าเทียมกัน
10.2 มีสิทธิเสนอความคิดเห็น เกี่ยวกับการดำเนินการของกลุ่มต่อคณะกรรมการ
10.3 มีสิทธิและหน้าที่ในการ เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆที่กลุ่มได้จัดให้มีขึ้น
10.4 มีสิทธิเข้าร่วมประชุม ใหญ่ของกลุ่ม
10.5 สมาชิกสามัญมีสิทธิในการ เลือกตั้ง หรือได้รับการเลือกตั้ง หรือ แต่งตั้งเป็นประธาน หรือกรรมการกลุ่ม และมีสิทธิออกเสียงลงมติต่างๆ ในที่ประชุมได้คนละ 1 คะแนน เสียง
10.6 มีสิทธิร้องขอต่อคณะ กรรมการ เพื่อตรวจสอบเอกสารและ บัญชีทรัพย์สินของกลุ่ม โดย ต้องมีสมาชิกเข้าชื่อกันไม่น้อยกว่า 50 คน ทำหนังสือร้องขอต่อคณะกรรมการ
10.7 มีสิทธิเข้าชื่อร่วมกัน ไม่น้อยกว่า 100 คน ทำหนังสือร้องขอต่อคณะกรรมการให้จัดประชุมใหญ่วิสามัญได้
10.8 มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติ ตามระเบียบปฏิบัติ และข้อบังคับของกลุ่ม
10.9 มีหน้าที่ให้ความร่วมมือ และสนับสนุนการดำเนินกิจการต่างๆ ของกลุ่ม
หมวดที่ 3 การ ดำเนินกิจการของกลุ่ม

ข้อ 11. ประธานกลุ่ม
ให้มีประธานกลุ่มทำ หน้าที่บริหารกิจการของกลุ่ม
ประธานกลุ่ม ได้มาจากการเลือกของที่ประชุมใหญ่

ข้อ 12. คณะ กรรมการ
ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง ทำหน้าที่บริหารกิจการของกลุ่ม มีจำนวนไม่น้อยกว่า 9 คน และไม่เกิน 19 คน ให้นับประธานกลุ่ม เป็นกรรมการกลุ่มด้วย
คณะกรรมการนี้ ได้มาจากการเสนอชื่อของประธานกลุ่มต่อ ที่ประชุมกลุ่ม

ข้อ 13. วาระ การดำรงตำแหน่ง
ประธาน อยู่ในตำแหน่งได้คราวละ 4 ปี และให้คณะกรรมการของกลุ่มมีวาระตามการ ดำรงตำแหน่งของประธาน

เมื่อ ประธานอยู่ในตำแหน่งครบวาระแล้ว ให้ มีการเลือกประธานกลุ่มคนใหม่จากที่ประชุมใหญ่ และให้มีการส่งและรับมอบงานกันระหว่างคณะกรรมการชุดเก่าและคณะ กรรมการชุด ใหม่ให้เป็นที่เรียบร้อย เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ คณะกรรมการชุดใหม่ได้รับการเลือกตั้ง

ข้อ 14. ตำแหน่ง ประธานกลุ่ม
ตำแหน่งประธานกลุ่มถ้า ว่างลงก่อนครบกำหนดไม่ว่ากรณีใดๆ ให้ถือว่าคณะกรรมการหมดวาระตามไปด้วย แต่ให้ทำหน้าที่รักษาการต่อไปอีกไม่เกิน 60 วัน นับแต่วันที่ตำแหน่งประธานกลุ่มว่างลง

และ ต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่เพื่อเลือกประธานกลุ่มภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ตำแหน่งประธานกลุ่มว่างลง

ข้อ 15. ตำแหน่ง คณะกรรมการกลุ่ม
ตำแหน่งคณะกรรมการกลุ่ม ถ้าว่างลงก่อนครบกำหนดตามวาระก็ให้ประธานแต่งตั้งสมาชิกสามัญคนใดคนหนึ่งที่ เห็นสมควรเข้าดำรงตำแหน่งแทน ตำแหน่ง ที่ว่างลงนั้น แต่ผู้ดำรงตำแหน่ง แทนอยู่ในตำแหน่งได้เท่ากับวาระของผู้ที่ตนแทนเท่านั้น

ข้อ 16. ประธาน อาจจะพ้นจากตำแหน่ง ซึ่งมิใช่เป็นการออกตามวาระด้วยเหตุผลต่อไปนี้คือ
16.1 ตาย
16.2 ลาออก
16.3 ขาดจากสมาชิกภาพ
16.4 ที่ประชุมใหญ่ลงมติให้ ออกจากตำแหน่ง

ข้อ 17. กรรมการ อาจจะพ้นจากตำแหน่ง ซึ่งมิใช่เป็นการออกตามวาระด้วยเหตุผลต่อไปนี้คือ
17.1 ตาย
17.2 ลาออก
17.3 ขาดจากสมาชิกภาพ
17.4 ประธานกลุ่มให้ออกจาก ตำแหน่ง

ข้อ 18. การ ลาออกของประธาน
กรณีที่ประธานประสงค์จะลา ออกจากตำแหน่งให้ยื่นใบลาออกเป็นลายลักษณ์อักษรต่อคณะกรรมการ และให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อคณะกรรมการมี มติให้ออก และให้คณะกรรมการปิดประกาศที่สำนักกลุ่ม และหรือเว็บไซด์ของกลุ่มภายใน 3 วันนับแต่วันที่ใบลาออก เป็นผล

ข้อ 19. การ ลาออกของกรรมการ
กรรมการที่ประสงค์จะลาออก จากตำแหน่งกรรมการให้ยื่นใบลาออกเป็น ลาย ลักษณ์อักษรต่อประธานกลุ่ม และ ให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อประธานอนุมัติหนังสือลาออก และให้คณะกรรมการปิดประกาศที่สำนักกลุ่ม และหรือเว็บไซด์ของกลุ่มภายใน 3 วันนับแต่วันที่ใบลาออกเป็นผล

ข้อ 20. อำนาจ และหน้าที่ประธานกลุ่ม
20.1 มีอำนาจออกระเบียบ ปฏิบัติต่างๆ เพื่อให้สมาชิกได้ปฏิบัติ โดยระเบียบปฏิบัตินั้นจะต้องไม่ขัดต่อข้อบังคับฉบับนี้
20.2 มีอำนาจแต่งตั้งและถอด ถอนเจ้าหน้าที่ของกลุ่ม
20.3 มีอำนาจแต่งตั้ง และถอดถอนกรรมการที่ปรึกษา แต่กรรมการที่ปรึกษาจะสามารถอยู่ในตำแห่นงได้ไม่เกินวาระของประธานที่แต่ง ตั้ง
20.4 มีอำนาจแต่งตั้ง และถอดถอนกรรมการ
20.5 มีหน้าที่รับผิดชอบ กิจการของกลุ่ม เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ตลอดจนมีอำนาจอื่นๆ ตามที่ข้อบังคับได้กำหนดไว้
20.6 มีหน้าที่รับผิดชอบใน กิจการทั้งหมด รวมทั้งการเงิน และทรัพย์สินทั้งหมดของกลุ่ม
20.7 มีอำนาจและหน้าที่อื่นๆ ตามที่ข้อบังคับได้กำหนดไว้

ข้อ 21. อำนาจ และหน้าที่ของกรรมการ
21.1 มีอำนาจเสนอชื่อแต่งตั้ง และถอดถอนเจ้าหน้าที่ของกลุ่ม
21.2 มีอำนาจแต่งตั้ง และเสนอถอดถอนอนุกรรมการ แต่ อนุกรรมการจะสามารถอยู่ในตำแห่นงได้ไม่เกินวาระของคณะกรรมการที่แต่งตั้ง
21.3 มีหน้าที่เรียกประชุม ใหญ่สามัญประจำปี และประชุมใหญ่วิสามัญ
21.4 มีหน้าที่บริหารกิจการ ของกลุ่ม เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ตลอดจนมีอำนาจอื่นๆ ตามที่ข้อบังคับได้กำหนดไว้
21.5 มีหน้าที่บริหารในกิจการ ทั้งหมด รวมทั้งการเงิน และทรัพย์สินทั้งหมดของกลุ่ม
21.6 มีหน้าที่จัดให้มีการ ประชุมใหญ่วิสามัญขึ้น ตามที่สมาชิกสามัญได้เข้าชื่อร้องขอให้จัดประชุมใหญ่วิสามัญขึ้น ซึ่งการนี้จะต้องจัดให้มีการประชุม ใหญ่วิสามัญขึ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือร้องขอ

โดย สมาชิกทำหนังสือเข้าชื่อสมาชิกไม่น้อยกว่า 100 คน เสนอต่อคณะกรรมการ
21.7 มีหน้าที่จัดทำเอกสาร หลักฐานต่างๆ ทั้งที่เกี่ยวกับการเงิน ทรัพย์สินและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของกลุ่มให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ และ สามารถจะให้สมาชิกตรวจดูได้เมื่อสมาชิกร้องขอ
21.9 มีหน้าที่จัดทำบันทึกการ ประชุมต่างๆ ของกลุ่ม เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานและจัดส่งให้สมาขิกได้รับทราบ
21.10 มีอำนาจและหน้าที่อื่นๆ ตามที่ข้อบังคับได้กำหนดไว้

ข้อ 22. คณะกรรมการจะต้องประชุมกันอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

ข้อ 23. การประชุมคณะกรรมการ
จะต้องมีคณะกรรมการเข้า ร่วมประชุมไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของ กรรมการทั้งหมด จึงจะถือว่าครบองค์ประชุม มติของที่ประชุมคณะกรรมการ ถ้าข้อบังคับมิได้กำหนดไว้เป็นอย่าง อื่น ก็ให้ถือคะแนนเสียงข้าง มากเป็นเกณฑ์ แต่ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ก็ให้ประธานในการประชุมเป็นผู้ชี้ขาด

ข้อ 24. ใน การประชุมคณะกรรมการ
ถ้าประธานกลุ่มและรอง ประธานไม่อยู่ในที่ประชุม หรือ ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ก็ ให้กรรมการที่เข้าประชุมในคราวนั้นเลือกตั้งกันเอง เพื่อให้กรรมการคนใดคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุมครั้งนั้น

 

หมวดที่ 4 การ ประชุมใหญ่

ข้อ 25. การประชุมใหญ่ของสมาชิกมี 2 ชนิด
25.1 ประชุมใหญ่สามัญ
25.2 ประชุมใหญ่วิสามัญ

ข้อ 26. การ ประชุมใหญ่สามัญ
คณะกรรมการจะต้องจัดให้มี การประชุมใหญ่สามัญประจำปีๆ ละ 1 ครั้ง

ข้อ 27. การ ประชุมใหญ่วิสามัญ
การประชุมใหญ่วิสามัญ อาจจะมีขึ้นได้ก็โดยเหตุที่คณะกรรมการ เห็นควรจัดให้มีขึ้น หรือ เกิดขึ้นด้วยการเข้าชื่อร่วมกันของสมาชิกไม่น้อยกว่า 100 คน ทำหนังสือร้องขอต่อคณะกรรมการให้จัด ให้มีขึ้น

ข้อ 28. การ แจ้งกำหนดนัดประชุม
การแจ้งกำหนดนัดประชุม ใหญ่ให้เลขาธิการเป็นผู้แจ้งกำหนดนัด ประชุม ใหญ่ให้สมาชิกได้ทราบ โดย ระบุวัน เวลา และสถานที่ให้ชัดเจน โดย จะต้องแจ้งให้สมาชิกทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน และประกาศแจ้งกำหนดนัดประชุมไว้ ณ สำนักงานของกลุ่ม และหรือเว็บไซด์เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 7 วัน ก่อนถึงกำหนดการประชุมใหญ่

ข้อ 29. การ ประชุมใหญ่สามัญประจำปี จะต้องมีวาระการประชุมอย่างน้อยดังต่อไปนี้
29.1 แถลงกิจการที่ผ่านมาใน รอบปี
29.2 แถลงบัญชีรายรับ รายจ่าย และบัญชีงบดุลของปีมี่ผ่านมาให้สมาชิกรับทราบ
29.3 เลือกตั้งคณะกรรมการชุด ใหม่ เมื่อครบกำหนดวาระ

ข้อ 30. การ ลงมติต่างๆ
ในที่ประชุมใหญ่ ถ้าข้อบังคับมิได้กำหนดไว้เป็นอย่าง อื่น ก็ให้ถือคะแนนเสียงข้าง มากเป็นเกณฑ์ แต่ถ้าคะแนนเสียงที่ลง มติมีคะแนนเสียงเท่ากัน ก็ ให้ประธานในการประชุมเป็นผู้ชี้ขาด

ข้อ 31. ใน การประชุมใหญ่ของกลุ่ม
ถ้าประธานกลุ่ม และรองประธานกลุ่มไม่มาร่วมประชุม หรือไม่สามารถจะปฏิบัติหน้าที่ได้ไม่ ว่ากรณีใดๆ ให้ที่ประชุมใหญ่ทำการเลือกกรรมการที่มาร่วมประชุมคนใดคนหนึ่งให้ทำหน้าที่ เป็นประธานในการประชุมคราวนั้น

 

หมวดที่ 5 การ เงินและทรัพย์สิน

ข้อ 32. การเงินและทรัพย์สิน
การเงินและทรัพย์สินทั้ง หมดให้อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการ

เงิน สดของกลุ่มถ้ามีให้นำฝากไว้ในสถาบันการเงินในระบบอิสลาม หรือ เหรัญญิก

ข้อ 33. การ ลงนามในตั๋วเงินหรือตราสารการเงินของกลุ่ม
การลงนามในตั๋วเงินหรือ ตราสารการเงินของกลุ่ม จะ ต้องมีลายมือชื่อของประธานกลุ่ม หรือผู้ทำการแทนลงนามร่วมกับเหรัญญิก หรือเลขาธิการ

ข้อ 34. อำนาจ สั่งจ่ายเงินของกลุ่ม
ให้หัวหน้าสำนักมีอำนาจ สั่งจ่ายเงินของกลุ่มได้ครั้งละไม่เกิน 2,000 บาท (สองบันบาท)

ประธาน กลุ่มมีอำนาจสั่งจ่ายเงินของกลุ่มได้ครั้งละไม่เกิน 5,000 บาท ( ห้าพันบาท )

ถ้า เกินกว่านั้นจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ และคณะกรรมการจะอนุมัติให้ จ่ายเงินได้ ในการประชุมแต่ละครั้งรวมแล้วไม่เกิน 300,000 บาท ( สามแสนบาท ) ถ้าจำเป็นต้องจ่าย มากกว่านี้ ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ของกลุ่ม

ข้อ 35. การ เก็บรักษาเงิน
ให้เหรัญญิก มีอำนาจเก็บรักษาเงินสดของกลุ่มได้ไม่ เกิน 50,000 บาท ( ห้าหมื่นบาท) ถ้าเกินกว่าจำนวนนี้จะต้องนำฝากสถาบัน การเงินในระบบอิสลามในบัญชีของกลุ่ม ทันที ที่โอกาสอำนวยให้

ข้อ 36. เหรัญญิก
เหรัญญิกจะต้องทำบัญชี รายรับ รายจ่าย และบัญชีงบดุล ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ

การ รับหรือจ่ายเงินทุกครั้ง จะ ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ลง ลายมือของหัวหน้าสำนัก หรือประธานกลุ่ม ร่วมกับเหรัญญิก และลายมือชื่อผู้รับเงิน

ข้อ 37. การ เปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับของกลุ่ม
ข้อบังคับของกลุ่มจะ เปลี่ยนแปลงแก้ไขได้โดยต้องผ่านการทำประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นของ สมาชิกอย่างเปิดเผย

มติ ของที่ประชุมในการให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับ จะต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของสมาชิกสามัญที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมด

ข้อ 38. การ เลิกกลุ่ม
การเลิกกลุ่มจะเลิกได้ โดยมติของที่ประชุมใหญ่ของกลุ่ม ยก เว้นการเลิกเพราะเหตุของกฎหมาย มติ ของที่ประชุมใหญ่ที่ให้เลิกกลุ่มจะต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของสมาชิกสามัญที่เข้าร่วมประชุมทั้ง หมด

ข้อ 39. เมื่อ กลุ่มต้องเลิก
เมื่อกลุ่มต้องเลิกไม่ว่า ด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม ทรัพย์สินของ กลุ่มที่เหลืออยู่หลังจากที่ได้ชำระบัญชีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้อยู่ในดุลยพินิจและการพิจารณาของ คณะกรรมการชุดสุดท้าย โดย ผู้รับทรัพย์สินของกลุ่มที่เหลืออยู่ต้องมีฐานะเป็นนิติบุคคล ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการต่อสู้ในหน ทางของอัลลอฮฺ

 

หมวดที่ 6 บท เฉพาะกาล

ข้อ 40. ข้อบังคับฉบับนี้นั้น ให้เริ่มใช้บังคับได้นับตั้งแต่วันที่ ประธานกลุ่มลงนาม ประกาศใช้ที่สำนักงานของกลุ่ม และทางเว็บไซด์ ยกเว้น ข้อ   วาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการบริหารกลุ่ม ให้มีผลบังคับใช้กับกรรมการบริหารกลุ่มชุดต่อไป

ข้อ 41. ระเบียบ ข้อบังคับใด ไม่ประกฎอยู่ในระเบียบแห่งนี้ ให้ยึดถือตามประกาศของกลุ่มเป็นระเบียบปฏิบัติในลำดับต่อไป

 

 

 

 
(นายปราโมทย์ สมะดี)

 

ประธานกลุ่มมุสลิมเพื่อสันติ

 

16 กรกฎาคม 2552

 

 

 

error: Content is protected !!